ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่พระนิพพาน
ย่อมเห็นว่า
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นว่าจักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นว่าจักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
และเห็นว่าแม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ เพราะจักขุสัมผัส โสตสัมผัส
ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่น ทางจมูกลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางกาย
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ไม่ดำริซ่านไป
ฟุ้งไป ในธรรมที่เป็นบาปอกุศล ถ้าปล่อยให้ดำริซ่านไป
ฟุ้งไป จะเป็นการเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เพราะบาปอกุศล
จะฟุ้งท่วมภิกษุนั้น
การประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์
คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เห็นว่ารูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เห็นว่าจักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เห็นว่าจักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เห็นว่าแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์ หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ เพราะจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่น ทางจมูกลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางกาย
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ก็ไม่ดำริซ่านไป
ฟุ้งไป ในธรรมที่เป็นบาปอกุศล เพราะบาปอกุศล จะฟุ้งท่วมภิกษุนั้นให้เป็นทุกข์
ภิกษุเบื่อหน่ายในทุกข์ จึงประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้ เพื่อการพ้นทุกข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น