ธรรมของพระอริยะ สูตรที่ 2
ภิกษุทั้งหลาย
! ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการนี้แล ที่พระอริยะอยู่แล้ว
กำลังอยู่ หรือจักอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1.
เป็นผู้ละองค์ 5 ได้
2.
เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6
3.
เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
4.
เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม 4 ประการ
5.
เป็นผู้ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้
6.
เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
7. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
8.
เป็นผู้กายสังขารอันระงับได้
9.
เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
10.
เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุผู้ละองค์
5 ได้ คือ ละกามฉันทะ พยาบาท ถิ่นมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาได้
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
6 ได้แก่
-
เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ฟังเสียงทางหูแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู
- ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว
เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
-
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุมีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ
ภิกษุผู้มีอปัสเสนธรรม
4 ประการ (ธรรมเป็นที่พึ่ง ที่พำนัก) ได้แก่พิจารณาแล้วเสพ
พิจารณาแล้วเว้น และพิจารณาแล้วบรรเทา
ภิกษุผู้ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้ (ความเห็นของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป) คือเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง
โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สิ้นสุดบ้าง โลกไม่มี ที่สิ้นสุดบ้างชีวะ(วิญญาณอมตะ/อาตมัน) กับสรีระ เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างบ้าง หลังตายแล้ว
ตถาคต(อัตตา)เกิดอีกบ้าง หลังตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี
หลังตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้
ปล่อยวางได้ ละได้
สละคืนได้
ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี คือ เป็นผู้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ และระงับการแสวงหาพรหมจรรย์
ภิกษุผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว คือ เป็นผู้ละความดำริในกาม ในพยาบาท และในวิหิงสา(การเบียดเบียน)
ภิกษุผู้กายสังขารอันระงับได้ (ปัจจัยปรุงแต่งกาย เช่น ลมหายใจเข้า-ออก )คือ
ละสุข และทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี คือ หลุดพ้นจากราคะ โทสะ โมหะ
ภิกษุผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี คือ รู้ชัดว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เราละได้เด็ดขาด
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น