วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะของโลภะ โทสะ โมหะ


ลักษณะของโลภะ  เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี  ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต  ความอยาก  ความหมกมุ่น ความใคร่  ความรักใคร่  ความข้องอยู่ ความจมอยู่  ธรรมชาติที่คร่าไป  ธรรมชาติที่หลอกลวง  ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม  ธรรมชาติที่ร้อยรัด  ธรรมชาติที่มีข่าย  ธรรมชาติที่กำซาบใจ  ธรรมชาติที่ซ่านไป  ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย  ธรรมชาติที่แผ่ไป  ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า  ตัณหาเหมือนดง  ความเกี่ยวข้อง  ความเยื่อใย  ความห่วงใยความผูกพัน  ความหวัง  กิริยาที่หวัง  ภาวะที่หวัง  ความหวังรูป  ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์  ความหวังบุตร ความหวังชีวิต  ธรรมชาติที่กระซิบ  ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง  ความกระซิบ  กิริยาที่กระซิบ  ภาวะที่กระซิบ  ความละโมบ  กิริยาที่ละโมบ  ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป  ภาวะที่ใคร่ต่ออารมณ์ดี ๆ  ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร  ความโลภเกินพอดี ความติดใจ  กิริยาที่ติดใจ  ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ  ความปรารถนานัก  กามตัณหา    ภวตัณหา  วิภาวตัณหา  รูปตัณหา  อรูปตัณหา  นิโรธตัณหา  รูปตัณหา  สัททตัณหา  คันธตัณหา  รสตัณหา  โผฏฐัพพตัณหา  ธัมมตัณหา  โอฆะ  โยคะ  คันถะ  อุปาทาน  อาวรณ์  นิวรณ์  เครื่องปิดบัง  เครื่องผูก อุปกิเลส  อนุสัย ปริยุฏฐาน  ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาและความติดอยู่ในวัตถุอย่างต่าง ๆ  มูลเหตุแห่งทุกข์  เหตุแห่งทุกข์  ทุกขสมุทัย  บ่วงแห่งมาร  เบ็ดแห่งมาร  วิสัยแห่งมาร  ตัณหาเหมือนแม่น้ำ   ตัณหาเหมือนข่าย  ตัณหาเหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร  อภิชฌา  เป็นอกุศลมูลคือ โลภะ   

ลักษณะของอโลภะ  เป็นไฉน ?
ความไม่โลภ  กิริยาที่ไม่โลภ  ภาวะที่ไม่โลภ  ความไม่กำหนัด  กิริยาที่ไม่กำหนัด  ภาวะที่ไม่กำหนัด  ความไม่เพ่งเล็ง  นี้เรียกว่า  อโลภะ

ลักษณะของโทสะ  เป็นไฉน ?

ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ  แก่คนที่เรารัก  ที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญ ฯลฯ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก  ที่ชอบพอของเรา  หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น  ความเคือง ความขุ่นเคือง  ความพล่านไป  โทสะ  ความคิดประทุสร้าย  ความคิดมุ่งร้าย  ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ  ความโกรธ  ภาวะที่โกรธ  ความคิดประทุษร้าย  กิริยาที่คิดประทุษร้าย  ภาวะที่คิดประทุษร้าย  ความคิดปองร้าย  กิริยาที่คิดปองร้าย  ภาวะที่คิดปองร้าย  ความพิโรธ  ความแค้น  ความดุร้าย  ความเกรี้ยวกราด  ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นนี้ว่า   นี้เรียกว่า  โทสะ

ลักษณะของอโทสะ  เป็นไฉน ?
ความไม่คิดประทุษร้าย  กิริยาที่ไม่คิดประทุสร้าย  ภาวะที่ไม่คิดประทุสร้าย  ฯลฯ  ความไม่พยาบาท  ความไม่คิดเบียดเบียน  นี้เรียกว่า  อโทสะ

ลักษณะของโมหะ  เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์  ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย  ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ  ความไม่รู้ในทุกขคามินีปฏิปทา  ความไม่รู้ในส่วนอดีต  ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีต และอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้  ความไม่เห็น  ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร   ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยความถูกต้อง  ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้  ความไม่รู้ชัด  ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงไหล  อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ  นี้ชื่อว่า  โมหะ

ลักษณะของอโมหะ  เป็นไฉน ?


          ความรู้ในทุกข์  ความรู้ในทุกขสมุทัย  ความรู้ในทุกขนิโรธ  ความรู้ในทุกขคามินีปฏิปทา   ความรู้ในส่วนอดีต  ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีต และอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี  กิริยาที่รู้ชัด   ความวิจัย  ความเลือกสรร  ความวิจัยธรรม   ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ  ภาวะที่รู้  ภาวะที่ฉลาด  ภาวะที่รู้ละเอียด   ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง   ความค้นคิด  ความใคร่ครวญ  ปัญญาเหมือนแผ่นดิน  ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส  ปัญญาเครื่องนำทาง  ความเห็นแจ้ง  ความรู้ดี  ปัญญาเหมือนปฏัก   ปัญญา  ปัญญิณทรีย์  ปัญญาพละ  ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท  ความสว่างคือปัญญา  ปัญญาเหมือนประทีป  ปัญญาเหมือนดวงแก้ว  ความไม่หลงงมงาย  ความเลือกเฟ้นธรรม  สัมมาทิฏฐิ  ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  อันเป็นองค์มรรค  นับเนื่องในมรรค  นี้ชื่อว่า  อโมหะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น