วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย


การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย

เมื่ออายตนะภายใน 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แล้วรู้ชัดเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจขึ้น ความชอบใจ ไม่ชอบใจนั้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันและกันเกิดขึ้นยังมี สิ่งที่ละเอียด และประณีต คือ อุเบกขา ความชอบใจ ไม่ชอบใจจึงดับไป

พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เมื่อเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจขึ้นแล้ว จึงเกิดความอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เพราะไม่ถือมั่นใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัณหา มานะ ทิฎฐิว่า เรามี จึงไม่มีดุจมองดูเงาของตนในกระจก หรือในน้ำใสสะอาด จึงเห็น เพราะไม่มองดูเงาของตนในกระจก หรือในน้ำใสสะอาด จึงไม่เห็น
โทษของขันธ์ 5 คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นเท็จ ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เป็นดุจโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ก่อความเดือดร้อน ทำให้ขัดข้อง เป็นเหมือนคนฝ่ายอื่น ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความผันแปรเป็นธรรมดา เป็นโทษของขันธ์ 5

ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละขันธ์ 5 ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากขันธ์ 5 คือ การพิจารณาขันธ์ 5 ทั้งภายใน ภายนอก อดีต อนาคต ปัจจุบัน หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ก็ตามว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา

เมื่อนั้น ก็จะไม่มี อหังการ(ทิฏฐิ) มมังการ(ตัณหา) และมานานุสัย (การถือว่าตนเป็นนั่น เป็นนี่) นิมิตทั้งปวงทั้งภายใน และภายนอก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น